บทที่ 5 สมบัติของแก๊ส
สถานะของสารเมื่อพิจารณาโมเลกุลของสาร จะได้ว่าแก๊สจะมีระยะห่างระหว่างโมเลกุลมากที่สุด เมื่อเทียบกับรัศมีของโมเลกุล ทำให้แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีค่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับ ของแข็ง และ ของเหลว อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 5 สมบัติของของเหลว
ของเหลวมีปริมาตรคงที่ เนื่องจากโมเลกุลของของเหลวอยู่เป็นกลุ่ม ๆ อย่างไม่เป็นระเบียบ โดยมีระยะห่างระหว่างกลุ่มเล็กน้อยและของเหลวมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากกว่าแก๊ส จึงทำให้โมเลกุลของของเหลวเคลื่อนที่ได้ระยะทางใกล้ ๆ อ่านเพิ่มเติม
โมเลกุลของสารในสถานะของแข็งจะอยู่ชิดกันมาก ของแข็งจึงมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูงกว่าในสถานะของเหลว ทำให้ของแข็งมีรูปร่างและปริมาตรแน่นอน ไม่เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ โมเลกุลของของแข็งเคลื่อนที่ไม่ได้ แต่ก็มีการสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา อ่านเพิ่มเติม
สารละลาย (Solution) คือ สารเนื้อเดียวที่มีสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน ประกอบด้วยตัวทำละลายและตัวถูกละลาย ถ้าตัวถูกสารละลายและตัวทำละลายมีสถานะเดียวกันสารละลายที่มีปริมาณมากกว่าเป็นตัวทำละลาย แต่ถ้าสารทั้งสองมีสถานะแตกต่างกันสารที่มีสถานะเดียวกันกับสารละลายเป็นตัวทำละลาย อ่านเพิ่มเติม
มวลโมเลกุล (อังกฤษ: Molecular Mass) คือ มวลของสารนั้น ๆ 1 โมล โดยมวลโมเลกุลหาได้จากการเอามวลอะตอมของธาตุทั้งหมดในสูตรโมเลกุลนั้นมารวมกัน คำนี้ต่างจากน้ำหนักสูตร (Formula weight) ในกรณีที่สูตรของสารนั้นไม่ใช่สูตรโมเลกุล เช่น สารประกอบไอออนิก สารที่มีโครงสร้างผลึกร่างตาข่าย สารที่มีพันธะโลหะ หรือ พอลิเมอร์ ที่จะใช้สูตรอย่างง่ายแทนสูตรโมเลกุล อ่านเพิ่มเติม
เนื่องจากอะตอมของแต่ละธาตุมีมวลน้อยมาก เช่น อะตอมของไฮโดรเจนมีมวล 1.66 * 10-24 กรัม อะตอมของออกซิเจนมีมวล 2.65 * 10-23 กรัม ทำให้ไม่สามารถชั่งมวลของธาตุ 1 อะตอมได้โดยตรง ดอลตันจึงได้พยายามหามวลอะตอมของแต่ละธาตุโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบว่าอะตอมาตุชนิดหนึ่งมีมวลเป็นกี่ท่าของอะตอมของอีกธาตุหนึ่งที่กำหนดให้เป็นมาตรฐาน อ่านเพิ่มเติม